เมนู

บัณฑิตพึงทราบคำปุจฉาเป็นทวีคูณแต่ยมก และอรรถเป็นทวี
คูณแต่ปุจฉานั้น. ก็ในจิตตยมกนี้ มียมกหลายพัน โดยเอาวาระทั้ง 3
นี้ คูณด้วยบท 16 บท ด้วยอำนาจสราคบทเป็นต้น และคูณด้วย
266 บท ด้วยอำนาจกุศลบทเป็นต้น ฯ ก็พระบาลีท่านย่อไว้ว่า ตโต
ทิคุณา ปุจฺฉา ตโต ทิคุณา อตฺถา จ โหนฺติ
แปลว่า ปุจฉา
ทวีคูณแต่ยมกนั้น อรรถ ( วิสัชนา ) ก็ทวีคูณแต่ปุจฉานั้น ดังนี้
บัณฑิตพึงทราบการกำหนดบาลีในจิตตยมกนี้ก่อน ดังพรรณนามา
ฉะนี้.
มาติกาฐปนวาระ จบ

วิสัชนาวาระ ( นิทเทส )


บัดนี้ เพื่อทรงวิสัชนาบทมาติกาโดยลำดับตามที่ตั้งไว้ พระผู้มี
พระภาคเจ้าจึงทรงเริ่ม คำว่า ยสฺส จิตฺตํ อุปฺปชฺชติ น นิรุชฺฌติ
ตสฺส จิตฺตํ นิรุชฺฌิสฺสติ
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปชฺชติ แปลว่า กำลังเกิด
เพราะถึงพร้อมด้วยอุปปาทขณะ. บทว่า น นิรุชฺฌติ แปลว่า มิใช่
กำลังดับ เพราะยังไม่ถึงนิโรธขณะ. สองบทว่า ตสฺส จิตฺตสฺส ความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า จำเดิมแต่นั้น จิตของบุคคลนั้น จักดับ
จักไม่เกิดใช่ไหม ดังนี้. สองบทว่า เตสํ จิตฺตํ ความว่า อุปปาทขณะ